ประเภทของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายสามารถจำแนกออกได้หลายประเภทแล้วแต่เกณฑ์ที่ใช้
เช่น ขนาด ลักษณะการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
โดยทั่วไปการจำแนกประเภทของเครือข่ายมีอยู่ 3
วิธีคือ
1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์
2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์
3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์
>>
1. ใช้ขนาดทางกายภาพของเครือข่ายเป็นเกณฑ์ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็น
3 ชนิดคือ เครือข่ายแลน
เครือข่ายแมนและเครือข่ายแวน
1.1 เครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) : ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น
เป็นเครือข่ายขนาดเล็ก
ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้าง เช่น ภายในอาคาร
หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก การส่งข้อมูลสามารถทำได้ด้วยความเร็วสูง
และมีข้อผิดพลาดน้อย
ในปัจจุบันมีการพัฒนาอุปกรณ์การเชื่อมต่อเครือข่ายจนทำให้เครือข่ายแลนสามารถมีการติดต่อสื่อสารรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงมาก
มีการนำเอาเทคโนโลยีสายไฟเบอร์ออปติกมาใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่ายระหว่างอาคาร
และยังมีการนำเอาเทคโนโลยีแลนไร้สาย (Wireless LAN) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทำให้สามารถเชื่อมต่ออยู่กับเครือข่ายได้ตลอดเวลา
และทุกสถานที่ในหน่วยงานหรือองค์กรโดยไม่ต้องติดตั้งระบบสาย
ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือที่เรียกกันว่าโน้ตบุ๊ก (Notebook)
ซึ่งมีขนาดเล็กเคลื่อนที่ได้
1.2 เครือข่ายแมน (Metropolitan Area
Network : MAN)
: ระบบเครือข่ายระดับเมือง
เป็นระบบเครือข่ายที่มีขนาดอยู่ระหว่าง LAN และ
WAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN
ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน
ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง
การเชื่อมโยงจะต้องอาศัยระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ
จึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน
1.3 เครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN) : ระบบเครือข่ายระดับประเทศ
เป็นระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานอยู่ในบริเวณกว้าง
เช่น ระบบเครือข่ายที่ติดตั้งใช้งานทั่วโลก ในการเชื่อมการติดต่อนั้นจึงต้องใช้ระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ การส่งข้อมูลอาจใช้อุปกรณ์ในการสื่อสาร เช่น
โมเด็ม (Modem)
มาช่วย
เครือข่ายแวนเชื่อมระยะทางไกลมาก
จึงมีความเร็วในการสื่อสารไม่สูง เนื่องจากจะมีสัญญาณรบกวนในสาย
และการเชื่อมโยงระยะไกลจำเป็นต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดปัญหาข้อผิดพลาดของการรับส่งข้อมูล
>>
2. ใช้ลักษณะหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายเป็นเกณฑ์
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
2.1
Peer-to-Peer Network หรือเครือข่ายแบบเท่าเทียม
เป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ละเครื่อง จะสามารถแบ่งทรัพยากรต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นไฟล์หรือเครื่องพิมพ์ซึ่งกันและกันภายในเครือข่ายได้
เครื่องแต่ละเครื่องจะทำงานในลักษณะที่ทัดเทียมกัน
ไม่มีเครื่องใดเครื่องเครื่องหนึ่งเป็นเครื่องหลักเหมือนแบบ Client /
Server แต่ก็ยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของระบบเครือข่ายไว้เหมือนเดิม
การเชื่อมต่อแบบนี้มักทำในระบบที่มีขนาดเล็กๆ เช่น หน่วยงานขนาดเล็กที่มีเครื่องใช้ไม่เกิน
10 เครื่อง
การเชื่อมต่อแบบนี้มีจุดอ่อนในเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัย
แต่ถ้าเป็นเครือข่ายขนาดเล็ก และเป็นงานที่ไม่มีข้อมูลที่เป็นความลับมากนัก
เครือข่ายแบบนี้ ก็เป็นรูปแบบที่น่าเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
2.2 Client-Server Network หรือเครือข่ายแบบผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ
เป็นระบบที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมีฐานะการทำงานที่เหมือน
ๆ กัน เท่าเทียมกันภายในระบบ เครือข่าย แต่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง
ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่อง Server ที่ทำหน้าที่ให้บริการทรัพยากรต่าง
ๆ ให้กับ เครื่อง Client หรือเครื่องที่ขอใช้บริการ
ซึ่งอาจจะต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง
ถึงจะทำให้การให้บริการมีประสิทธิภาพตามไปด้วย ข้อดีของระบบเครือข่าย Client
- Server เป็นระบบที่มีการรักษาความปลอดภัยสูงกว่า ระบบแบบ Peer
to Peer เพราะว่าการจัดการในด้านรักษาความปลอดภัยนั้น
จะทำกันบนเครื่อง Server เพียงเครื่องเดียว
ทำให้ดูแลรักษาง่าย และสะดวก มีการกำหนดสิทธิการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง
ๆให้กับเครื่องผู้ขอใช้บริการ หรือเครื่อง Client
>>
3. ใช้ระดับความปลอดภัยของข้อมูลเป็นเกณฑ์
การแบ่งประเภทเครือข่ายตามระดับความปลอดภัยของข้อมูล
ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็น 3
ประเภทคือ อินเทอร์เน็ต (Internet) อินทราเน็ต
(Intranet) และ เอ็กส์ทราเน็ต (Extranet) อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ทุกคนสามารถเชื่อมต่อเข้าได้
เครือข่ายนี้จะไม่มีความปลอดภัยของข้อมูลเลย
ถ้าทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่แชร์ไว้บนอินเทอร์เน็ตได้ ในทางตรงกันข้าม
อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคล
ข้อมูลจะถูกแชร์เฉพาะผู้ที่ใช้อยู่ข้างในเท่านั้น
หรือผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาดูข้อมูลในอินทราเน็ตได้
ถึงแม้ว่าทั้งสองเครือข่ายจะมีการเชื่อมต่อกันอยู่ก็ตาม
ส่วนเอ็กทราเน็ตนั้นเป็นเครือข่ายแบบกึ่งอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ตกล่าวคือ
การเข้าใช้เอ็กส์ทราเน็ตนั้นมีการควบคุม
เอ็กส์ทราเน็ตส่วนใหญ่จะเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างองค์กรเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างซึ่งกันและกัน
ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนี้ต้องมีการควบคุม
เพราะเฉพาะข้อมูลบางอย่างเท่านั้นที่ต้องการแลกเปลี่ยน